เกี่ยวกับสาขา
หลักสูตรพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในยุคประเทศไทย 4.0 ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เป็นที่ยอมรับระดับสากล เน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งต้องใช้บุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก จากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่กำหนดทิศทาง การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
สาขาวิชาฯ เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยระบบการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯ เน้นด้านการพัฒนาโปรแกรมเป็นหลัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ และแนวคิดในการวางแผนอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้นสาขาวิชาฯ ยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาระบบ อาทิ การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การทดสอบระบบด้วยเครื่องมืออันที่ทันสมัย โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานเป็นอันดับแรก ดังนั้นบัณฑิตของสาขาวิชาฯ ต้องมีทักษะด้านปฏิบัติเป็นสำคัญส่งผลให้สาขาวิชาฯ เป็นหนึ่งในจำนวนสาขาที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ในแง่การผลิตบัณฑิตที่มีจำนวนผู้ได้งาน และรายได้ต่อหัวสูงสุดของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นับตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน
* การเรียนการสอน ไม่เน้นที่การออกแบบกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ และมัลติมีเดีย เช่นเดียวกับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันอื่นๆ *

ปรัญชา
“ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการเรียนรูตลอดชีวิต ในการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยี ให้สามารถออกแบบ พัฒนา และ ทดสอบซอฟต์แวร์ ที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารและทำงานเป็นทีม โดยมีจรรยาบรรณในวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ”
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- 1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยี ให้สามารถออกแบบ พัฒนา และ ทดสอบ ซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- 2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจ และประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ และมีความสามารถในการสื่อสาร ทำงานเป็นทีมได้ เป็นผู้ที่มีความเข้าใจด้านสังคม องค์กร และคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการจัดการปัญหาและการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ได้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้
คณาจารย์

อ.ดร. ภรต รัตนปิณฑะ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อ. พิชชยานิดา คำวิชัย
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อ.ดร. จักรกฤช เตโช
อาจารย์ผู้สอน

อ.ดร. วัชรินทร์ สาระไชย
อาจารย์ผู้สอน

อ. จิราวรรณ รอนราญ
อาจารย์ผู้สอน (ลาศึกษาต่อ)
เจ้าหน้าที่

นาย ณัฐพล อาจิน
เจ้าหน้าที่นักวิชาการคอมพิวเตอร์